ฝึกบริหารจิตใจ ให้ห่างไกล อคติ 4

เมื่อจิตใจของเราปราศจากความขุ่นมัวอย่าง อคติ 4 เราก็จะสัมผัสได้ถึงความสงบและความสุขภายในจิตใจได้อย่างแท้จริง

“รัก โลภ โกรธ หลง” อคติทั้ง 4 นี้เป็นความลำเอียงที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมนำความทุกข์มาสู่ใจเรา

หลายคนหาทางแก้ไข เพื่อละหรือดับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ซึ่งเว็บไซต์ สสส. มีหนทางในการดับความรัก โลภ โกรธ หลง

จากพระอาจารย์ภาณุ จิตตฑฺนโต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก มาเชิญชวนให้ทุกคนบริหารจิตใจกัน

สำหรับเรื่องนี้ พระอาจารย์ภาณุ จิตตฑฺนโต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก อธิบายให้เข้าใจด้วยถ้อยคำง่าย ๆ

ว่า…สิ่งที่เข้ามากระทบใจนี้ มนุษย์ได้เลือกตอบสนองด้วยความรู้สึกทั้ง 4 อย่าง คือ

ฉันทาคติ หมายความว่า เราเลือกปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ด้วยความลำเอียง เช่น ลำเอียงเพราะรักหรือชอบสิ่งนั้น
โทสาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียงเนื่องจากความหงุดหงิด ไม่ชอบใจ
โมหาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียง เพราะเราไม่รู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร
ภยาคติ หมายความว่า เราลำเอียงต่อสิ่งนั้นเพราะความกลัว หรือเกรงใจ ทั้งหมดนี้ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “อคติ 4”

พระอาจารย์ภาณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวพุทธได้ดำเนินตามหลักของพระพุทธเจ้า คือเป็นผู้รู้ตื่นและเบิกบาน

ดังนั้นกระทำสิ่งใดแปลว่าเราต้องรู้สิ่งนั้นชัดเจนก่อน การที่เราจะรู้ได้ต้องดูว่าแต่ละสิ่งมีที่มาที่ไปอย่างไร

ด้านแรกคือ ความรัก ในทางพุทธศาสนาไม่ได้นิยามความรักเป็นคำ ๆ เดียว มีหลาย ๆ คำที่เกี่ยวกับความรัก

เช่น ความพยายาม ความอยาก ความต้องการ ความผูกพัน ความใคร่ ความพอใจ และที่สูงขึ้นไปกว่าความรักที่กล่าวมา

คือความปารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข มีความเมตตา และสูงกว่านั้นคือความปารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์

มีความกรุณา ซึ่งอยู่ในหลักของพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เราสามารถจำแนกความรักออกมาได้ดังนี้

ความรักตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นไปในทางของตัณหา นั่นคือต้องการดึงความสุขนั้นมาเป็นของตัวเองทั้งหมด

คนที่ต้องการความสุขทั้งหมด อาจทำผิดศีลธธรม ทำร้ายผู้อื่น และเบียดเบียนผู้อื่น

ความรักครอบครัว เป็นหน่วยย่อย ๆ ที่ขยายออกไปจากความรักตัวเอง คำภาษาบาลีคือ “เปม” (เป-มะ)

เมื่อมีความรักครอบครัวจะมีการปรับตัว ลดตัวตนของตัวเองลง เพื่อปรับเข้าหาคนในครอบครัวและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

รักในคนรอบข้าง เนื่องจากเราอยู่ร่วมกันหลายคนเป็นชุมชน จึงต้องเรียนรู้การประนีประนอม ลดตัวตนลงไป

เพื่อปรับเข้ากับคนอื่นให้ได้ ความรักประเภทนี้เป็นความดีงามที่บริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน

ความรักไม่มีประมาณ คือไม่เจาะจงความรักต่อผู้ใดสิ่งใด ขยายความรักนั้นไปสู่ต่างชนชาติ ต่างภาษา

ไม่เบียด เบียนตนเองและผู้อื่น ถือเป็นความรักขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา

“วัดเป็นที่ดับทุกข์ทางใจ การมาเจอพระผู้ทรงศีล ให้ทางออกจะทำให้มีสติ ถ้าได้ฟังธรรมะแล้วใจเราน้อมจะฟังก็ดีขึ้นไปอีก

มีการสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ใจก็จะสงบ จะเห็นปัญหาอย่างชัดเจน ปัญหาของมนุษย์อยู่กับอคติที่ว่า ไม่สามารถมองสิ่งใดได้อย่างลึกซึ้ง

ถูกต้อง มองไม่เห็นต้นตอของปัญหา การที่ใช้ความรู้สึกมาตัดสินทำให้ทางเลือกที่มีอยู่มันน้อยลงไป เมื่อเรามีสติและสงบมากขึ้น

ก็จะมองเห็นปัญหาและยอมรับความจริงได้ง่าย” พระอาจารย์ภาณุ ให้ความเห็นเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากความรัก และเลือกเข้าวัดเพื่อหาหนทางสงบจิตใจ

ด้านที่สอง ความโลภ ถือเป็นรากเหง้าของปัญหา มาจากความต้องการที่เป็นส่วนเกิน ถ้าเรามีสติ พิจารณาถึงปัจจัย 4

ที่เรามีว่าเพียงพอแล้วต่อการมีชีวิตอยู่ เราก็จะไม่ไปขวนขวายมัน เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ ถ้าเราเพียงพอแล้ว สามารถกันร้อนกันหนาว

กันแมลง และให้เป็นไปโดยมารยาททางสังคมที่ดี เราควรพอใจกับสิ่งนั้น ข้าวปลาอาหารไม่ได้กินเกินกำลัง กินแล้วให้ดีกับสุขภาพก็พอ

ที่อยู่อาศัย กันแดดกันฝน ให้ความมั่นคงทางชีวิตเราก็อยู่ได้ ยารักษาโรคประทังชีวิต เมื่อมีสำหรับเราเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็เพียงพอแล้ว

“ปัจจัยสี่พื้นฐาน ถ้าเรามีปัญญาเห็นว่าชีวิตเราไม่ได้ลำบากแล้ว เราก็จะดิ้นรนน้อยลง แต่หากเราเกิดการเปรียบเทียบกับผู้อื่น

จะทำให้เราดิ้นรนอยากได้ในสิ่งนั้น ๆ ถ้าศักยภาพเราไม่พอที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองก็เกิดปัญหาตามมา

เมื่อขาดสติก็จะทำให้เราผิดศีล มนุษย์ต้องมีตัวช่วยหลายอย่าง และอาจจะต้องหาตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรา”

สำหรับ ความโกรธ ที่เสมือนไฟร้อนนั้น พระอาจารย์ภาณุ เล่าว่า ถ้าเราไม่สามารถดับไฟในใจเรา

ไฟนั้นก็จะออกมาสู่ภายนอกเผาผู้อื่นด้วย ทั้งทรัพย์สิน ร่างกาย จิตใจ เมื่อใจเป็นไฟเราต้องเอาความเย็นมาดับ

“การดับไฟนั้นต้องเอาศีลมาสกัดไว้ น้อมใจคิดว่าถ้าเราโต้ตอบ ทำร้ายคนอื่นด้วยกายหรือวาจา

ก็จะเกิดการทำร้ายกัน ยับยั้งตัวเราเองด้วยการมีศีล ใช้ความเมตตา กรุณา และไม่เบียดเบียนด้วยศีลข้อที่ 1 ไม่ฆ่า

ไม่คิดร้าย ต้องให้อภัยผู้อื่น ถ้าหากศีลยับยั้งไม่พอ ลองฝึกสมาธิหลับตา สูดลมหายใจ ให้ใจเยือกเย็น

ท้ายสุดต้องใช้ปัญญา พิจารณาว่าทุกสิ่งไม่แน่นอน ความโกรธก็จะตั้งอยู่ และดับไป” พระอาจารย์ภาณุ กล่าว

อคติด้านสุดท้ายคือ ความหลง หรือ โมหะ ซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งสามตัวที่กล่าวมา

สิ่งนี้ทำให้เห็นผิดไปจากความจริง เช่น ความรักที่มากเกินไป ไม่ได้รักด้วยเหตุและผล เมื่อโมหะเข้าครอบงำ

จะทำให้เราเบียดเบียนผู้อื่นไม่ว่าจะวิธีการใด ๆ ก็ตาม ด้านความโลภจากการเกิดโมหะจะเกิดขึ้นถ้าหากเราไม่เกิดปัญญา

ความอยากได้มันเป็นส่วนเกิน เราจะขวนขวายเกินพอดี แสวงหาเกินพอดี และสุดท้ายคือความโกรธ เมื่อมีโมหะเข้าครอบงำ

เราก็จะโกรธและเกลียดคนที่เราเห็นว่าไม่ดีอย่างเต็มที่ ถ้าเราพอเห็นส่วนดีบ้างท่ามกลางความไม่ดีนั้น เราก็จะให้อภัยผู้อื่น

ความโกรธเกลียดก็จะเบาบางลงไป เราจะแก้โมหะได้ต่อเมื่อเรายอมรับว่าสิ่งต่าง ๆ มีหลายแง่มุม มองให้รอบด้าน

ใช้สติกับสมาธิเข้าช่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เราฝึกกันได้ไม่ยากจนเกินไป

ใจที่อคติจากความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง คลายทุกข์ในใจได้ด้วยการยอมรับ

ใช้ศีล สมาธิ และปัญญาที่จะน้อมนำมาให้เกิดความตื่นรู้ และความสงบในจิตใจ…

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจากจาก:สสส.และhttp://health.kapook.com/