“บั้งไฟพญานาค” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันออกพรรษาตลอดแนวความยาวกว่า 300 กม. ของลำน้ำโขงซึ่งกั้นขวางระหว่าง จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย กับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยจะมีจำนวนลูกไฟที่ผุดพวยพุ่งขึ้นมาจากลำน้ำโขงมาก – น้อยแตกต่างกันไปในแต่ละปีตามแต่ละพื้นที่ดังตัวอย่างสถิติตามตารางด้านล่างต่อไปนี้ (อำเภอที่มีสถิติการเกิดบั้งไฟพญานาคมากที่สุด ได้แก่ อ.โพนพิสัย และ อ.รัตนวาปี)
จุดนี้มีที่จอดรถขนาดใหญ่อยู่ริมถนน แต่อย่าประมาทครับ เพราะญาติโยมวัดพระธรรมกายเยอะมาก อาจจะเดินทางไม่สะดวกเท่าไร จุดนี้เองยังมีสวนสนให้พักผ่อนหย่อนใจด้วยนะครับ
จุดที่สองของอำเภอโพนพิสัยเป็นจุดที่ดังที่สุด คือ วัดไทยและริมแม่น้ำโขงตลอดตัวเมืองโพนพิสัย ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรมเลยทีเดียว มีการบวงสรวง การแสดง และงานวัดที่จุดนี้นี่เองครับ บริเวณริมโขงมีการทำถนนริมแม่น้ำโขงสามารถชมวิวได้ตลอดเส้นทาง
นอกจากนี้จุดวัดไทยยังมีเสาหลักเมืองบาดาลที่เป็นสัญลักษณ์ของการชมบั้งไฟพญานาคเลยทีเดียว บริเวณแถวนี้มีที่จอดรถเยอะพอสมควรครับ อาหารการกินเยอะมาก ที่พักเยอะพอสมควร สามารถพักที่ตัวอำเภอได้เลยครับ
จุดชมบั้งไฟพญานาค
นอกจากนี้ยังมีอีกจุดที่เป็นจุดที่ธรรมชาติสวยงามและชมบั้งไฟพญานาคได้ คือ บ้านหนองกุ้ง บริเวณจุดชมวิวแม่น้ำสองสี ซึ่งแม่น้ำสองสี คือ ปากแม่น้ำงึมของประเทศลาวไหลลงสู่แม่น้ำโขง
จุดนี้ที่พักเป็นแบบโฮมสเตย์ในบรรยากาศพื้นบ้านอีสาน บ้านที่ปลูกด้วยไม้แบบโบราณ
2. อำเภอรัตนวาปี
เป็นจุดที่พบว่ามีบั้งไฟขึ้นมากที่สุดมาหลายปีเลยทีเดียวครับ (เป็นสถานที่ทำงานของผมด้วย) รัตนวาปีมีจุดชมบั้งไฟพญานาคหลายจุดครับ แต่จุดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บริเวณบ้านน้ำเป ซึ่งติดกับพุทธอุทยานนานาชาติที่กล่าวไปข้างต้น
จุดนี้เป็นจุดที่มีการทำถนนริมแม่น้ำโขง สามารถชมบั้งไฟได้ตลอดลำน้ำ มีที่พักในบรรยากาศโฮมสเตย์ มีจุดจอดรถหลายจุด เช่น โรงเรียนบ้านน้ำเป บรรยากาศวิถีชาวบ้าน การจับปลา ถือว่าเป็นเสน่ห์ของจุดนี้เลยครับ
จุดที่สองของอำเภอรัตนวาปี คือ บริเวณบ้านท่าม่วง จุดนี้เองเคยบันทึกว่าพบบั้งไฟพญานาคมากที่สุดในโลก พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เคยได้มาชมในจุดนี้ จุดนี้ที่พักเป็นแบบโฮมสเตย์เช่นกันครับ เดินทางได้ง่ายครับ อยู่ใกล้ตัวอำเภอรัตนวาปี
และอีกหนึ่งจุดของอำเภอรัตนวาปีที่นิยมชมบั้งไฟพญานาคทั้งฝั่งไทยและลาว คือ บ้านโพนแพงและบ้านอาญา จุดนี้มีชื่อเสียงว่ามักพบรอยพญานาคตามริมแม่น้ำ บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัด ที่อยู่ขนานกันสองฝั่งน้ำโขง ทั้งฝั่งไทยและลาว โดยฝั่งลาวมีวัดพระบาทโพนสันอันเป็นที่นับถือสองฝั่งโขง จุดนี้มีความงามโดยเฉพาะ ฉากหลัง คือ ภูเขาควาย ภูเขาขนาดใหญ่ของลาว
3. อำเภอสังคม
บริเวณจุดชมอ่างปลาบึกบ้านผาตั้ง อำเภอสังคม เป็นจุดที่มีภูมิประเทศสวยงาม มีโขดหินน้อยใหญ่กลางน้ำโขง มีที่พักหลากหลายรูปแบบ แต่เป็นจุดที่ไกลจากห่างจากอำเภอเมือง 95 กิโลเมตร
4. อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
จุดนี้ชมได้ที่ วัดหินหมากเป้ง วัดที่สร้างบนโขดหินริมแม่น้ำโขง วัดนี้เคยเป็นวัดของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระสงฆ์สายพระป่า หลวงปู่มั่น (ไม่มีรูปสถานที่มาให้ดูนะครับ)
5. อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
บ้านอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ คือ บริเวณแก่งอาฮงและวัดอาฮงศิลาวาส จุดนี้เป็นจุดที่ชมบั้งไฟพญานาคได้มากที่สุดในจังหวัดบึงกาฬ ด้วยความสวยงามของแก่งกลางน้ำโขงและธรรมชาติที่สวยงาม จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
จุดชมบั้งไฟพญานาค
แก่งอาฮงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดบึงกาฬ 20 กิโลเมตร เดินทางได้สะดวก อีกทั้งที่วัดยังมีที่พัก ลานให้กางเต็นท์ และลานจอดรถกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีโบสถ์หินอ่อนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ ที่มีความงดงามริมแม่น้ำโขง
6. อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอนี้มีจุดชมสองจุด คือ บริเวณริมแม่น้ำโขง และอีกจุด คือ บริเวณบึงโขงหลง เป็นหนึ่งให้จุดที่มีผู้พบเห็นบั้งไฟพญานาคได้ เป็นจุดหนึ่งที่ชมบั้งไฟพญานาคที่ไม่ได้อยู่แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นความแปลกของจุดนี้เลยครับ
จุดที่ชม คือ บริเวณหาดคำสมบูรณ์ เป็นแหล่งพักผ่อนคลายร้อน มีกิจกรรมทางน้ำมากมายเลยครับ อำเภอบึงโขงหลง อยู่ห่างจากจังหวัดบึงกาฬประมาณ 80 กิโลเมตร อาจจะไกลแต่ได้บรรยากาศอีกแบบครับ
7. อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ
บริเวณริมแม่น้ำโขงของอำเภอปากคาด เป็นจุดหนึ่งที่ชมบั้งไฟพญานาคได้เป็นอันดับสองของจังหวัดบึงกาฬ
มีถนนริมแม่น้ำโขงสามารถชมความงามของบั้งไฟพญานาคได้ยาวกว่าหนึ่งกิโลเมตร จุดนี้เป็นลักษณะโค้งน้ำโขง ทำให้ชมได้สวยงามอีกด้วย โดยอำเภอปากคาดอยู่ห่างจากจังหวัดบึงกาฬประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นจุดที่ชมบั้งไฟพญานาคอยู่กลางเมืองเลยครับ ที่พักในตัวอำเภอมีทั้งรีสอร์ทและโรงแรมขนาดเล็ก
นอกจากทั้งเจ็ดจุดนี้แล้ว ตัวจังหวัดหนองคายนี้เองถึงไม่จะไม่มีบั้งไฟพญานาคขึ้นในตัวอำเภอเมือง แต่จะมีการจัดกิจกรรมมากมายก่อนวันออกพรรษาประมาณหนึ่งสัปดาห์ โดยมีกิจกรรมถนนอาหาร การไหลเรือไฟจากวัดต่าง ๆ
และสิ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การแสดงแสง สี เสียงเปิดตำนานบั้งไฟพญานาค การแสดงที่บอกเล่าเรื่องราวตำนานความเชื่อต่อบั้งไฟพญานาค
ออกพรรษานี้มาพิสูจน์บั้งไฟพญานาคกันได้นะครับ แล้วคุณจะได้รู้จักบั้งไฟพญานาคมากขึ้นกว่าเดิมครับ
ผู้ที่สนใจเดินทางมาชมความมหัศจรรย์ของบั้งไฟพญานาค และท่องเที่ยวในงานประเพณีออกพรรษาและเทศกาลบั้งไฟพญานาค ประจำปี 2557สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
-เทศบาลเมืองหนองคาย หมายเลขโทรศัพท์ 042-420574
-เทศบาลตำบลโพนพิสัย หมายเลขโทรศัพท์ 042-405563-4
-ททท. สำนักงานอุดรธานี หมายเลขโทรศัพท์ 042-325406-7
-เว็บไซต์ www.tourismthailand.org
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : http://thai.tourismthailand.org/ ,http://www.thongteaw.com/ ,hilight.kapook.com , http://www.dmc.tv/