หมืองปิล๊อก เป็นสถานที่ที่เคยเป็นแหล่งเหมืองแร่เก่า มีนักท่องเที่ยวแวะมาเที่ยวชมสถานที่ ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีต ครั้งเมื่อผืนดินแห่งนี้เต็มไปด้วยแร่ที่มีค่า เสมือนเป็นขุมทองของนักแสวงโชคจากทั่วทุกสารทิศ เมื่อประมาณ 70 กว่าปีก่อน ในช่วงการล่าอาณานิคม ขณะนั้นประเทศพม่าได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ มีชาวพม่าจำนวนหนึ่งได้เข้ามาหาแร่วุลแฟรม และดีบุก เพื่อนำไปขายต่อให้กับทหารอังกฤษ เอาไปผลิตอาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการสงคราม ว่ากันว่ามีนายพรานฝั่งไทย 2 คน คือพรานไผ่ และพรานผาแป เข้าไปตามรอยกระทิงในป่า แล้วไปเจอชาวพม่่ากำลังขุดหาแร่อยู่ จึงนำเรื่องไปแจ้งทางการไทย เมื่อปี พ.ศ. 2481 กรมโลหกิจ องค์การเหมืองแร่ ในหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้น จึงได้เข้ามาสำรวจสายแร่ในบริเวณปิล๊อกนี้ พบว่าแถวนี้มีสายแร่ดีบุกและแร่วุลแฟรมอยู่มาก รวมถึงมีแร่ทังสะเตน และสายแร่ทองคำปะปนอยู่ด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ จึงได้จัดตั้งเหมืองแร่แห่งแรกขึ้นในตำบลปิล๊อก หลังจากนั้นก็เปิดให้สัมปทานแก่นักลงทุนเอกชน จนทำให้มีเหมืองแร่เกิดขึ้นมากมายราวดอกเห็ดราวๆ 50-60 แห่ง ทั้งเหมืองขนาดเล็กและใหญ่ รวมถึงเหมืองเถื่อน และการแอบลอบขุดนำไปขายของชาวบ้าน ในขณะนั้นเองก็ยังมีชาวพม่าจำนวนหนึ่งเข้ามาขุดแร่เพื่อนำไปขายให้แก่อังกฤษ ซึ่งทำให้ทางการไทยต้องเข้าปราบปราม ต่อสู้กัน จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงการขุดอุโมงค์เพื่อเข้าไปหาแร่บนภูเขานั้น มีอันตรายมากมาย ทั้งเกิดอุโมงค์ถล่ม หินถล่ม ไข้ป่า มาเลเรีย ทำให้คนงานเหมืองเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าชื่อเหมืองปิล๊อกนี้ เป็นคำที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เหมืองผีหลอก” เพราะมีคนตายมากมาย และเมื่อคนงานพม่าเรียกต่อๆ กันไป จึงเพี้ยนเป็น “เหมืองปิล๊อก”
ช่วงยุคทองของการค้าแร่ ถือได้ว่ารุ่งเรืองมาก จนครั้งนึงประเทศไทยกลายเป็นแหล่งผลิตดีบุกที่สำคัญของโลก ประมาณปีพ.ศ. 2527-2528 ความรุ่งโรจน์ของการขุดแร่ได้จบลง เมื่อจีนได้ปล่อยดีบุกจำนวนมากออกขายในราคาถูก ราคาแร่ดีบุกจึงเข้าสู่วิกฤตการณ์เลวร้าย ตกต่ำอย่างรุนแรง ทั้งยังมีเทคโลยีการผลิตพลาสติกเข้ามาแทน ทำให้การใช้ดีบุกลดลง เหมืองแร่ดีบุกในประเทศไทยจึงต้องทะยอยปิดตัวลง คนงานต่างก็พากันอพยพไปทำงานที่อื่น และในที่สุดตำนานแห่งเหมืองปิล๊อก จึงกลายเป็นเพียงเรื่องราวในอดีตที่ถูกเล่าขาน ปัจจุบันไม่มีการขุดหาแร่อีกแล้ว เหลือเพียงซากรถเก่าที่เคยบรรทุกแร่ โรงเก็บอุปกรณ์การร่อนแร่ถูกทิ้งร้าง และพื้นที่บางส่่วนที่เคยเป็นอุโมงค์ขุดเจาะแร่ ทิ้งไว้ให้เห็นถึงยุคที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเท่านั้น
แผนที่การเดินทางไปเหมืองปิล็อก
การเดินทางไปปิล๊อก
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาประมาณ 9 กม.จะพบสะพาน ลอย ข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ขับมาประมาณ 7 กม. ท่านจะพบสี่แยก ให้ เลี้ยว ขวา ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปคือถ้ำค้างคาว) เพื่อไปยัง อ.เมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยก แก่งเสี้ยนให้ขับ ไปทาง อ. ทองผาภูมิ ซึ่งจะผ่านทั้งไทรโยคน้อย และไทรโยคใหญ่ ( หลักกม.ที่ 125 ทางหลวง หมายเลข 323 ) จะพบ สามแยก ( ตรงไปไปอำเภอทองผาภูมิ + เขื่อนเขาแหลม ถ้าเลี้ยวขวาไปอำเภอสังขละบุรี) ให้ขับตรงไปเพื่อมุ่งหน้าสู่ อ.ทองผาภูมิ ประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางเป็นทางลัดเลาะตามไหล่เขา ถนนค่อนข้าง แคบโค้งเยอะ ก็จะถึงที่ทำการ ี่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ขับไป 2.5 กิโลเมตร ทางขวามือมีทางแยกไปน้ำตก น้ำตกจ๊อกกระดิ่น ขับตรงไปอีกนิด ทางซ้ายมือจะมีเส้นทางลงเขาปากทางปักป้ายไว้ว่า เหมืองสมศักดิ์ (บ้านป้าเกล็น)หากตรงไปเรื่อยก็จะถึงร้านโชห่วย แล้วก็ถึงสภ.ต.ปิล๊อกวิ่งแยกซ้ายไปตามถนนดินอีกประมาณ 3กม. เส้นทางคดเคี้ยว ไปยังฐานของตำรวจ ตชด. ฐานปฎิบัติการช้างศึกลับมาเส้นทางเดิมผ่านถึง ช่องเขาขาด เลยมาอีกหน่อยก็ถึงจุดประสานสัมพันธไมตรี ไทย – พม่า หรือเนินชักธง ที่มีธงไทยปักไว้ให้รู้ว่าที่นี่คือ ดินแดน ไทย และมีธงพม่าปักไว้คู่กันตรงเส้นแดนพม่า จากจุดนี้หากมองลงมาทางฝั่งไทยก็จะมองเห็นตลาดอีต่อง มองเห็นท่อแก๊สที่เริ่มต้นวางเพื่อส่งแก๊สที่ไทยซื้อจากพม่าจากนั้นก็ขับไต่เขาลงไปเรื่อยๆผ่านทางเดินเข้าไปยัง หมู่บ้านอีต่อง รถที่สามารถวิ่งไปยังจุดต่างๆได้นั้นควรเป็น รถกระบะหรือรถขับเคลื่อที่มีกำลังมากพอ ส่วนผู้ที่นำรถ ไปเอง(ไม่ใช่รถโฟร์วีล)สามารถฝากรถได้ที่ สภ.อ.ทองผาภูมิ แล้วให้รถโฟร์วีลของทางเหมืองสมศักดิ์ มารับตาม เวลาที่นัดแนะ ซึ่งรถจะนำเที่ยวไปยังจุดต่างๆของปิล๊อก
2.รถโดยสารประจำทาง
ในสถานีขนส่งเมืองกาญจน์ มีรถทองผาภูมิ-สังขละ วิ่งทุกๆ 40 นาที เวลา 6.00-18.20 น. การเดินทางไปยังแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ ในอำเภอทองผาภูมิ จากบริเวณตลาดอำเภอทองผาภูมิจะมีบริการรถโดยสารไป ปิล็อกและมี บริการเช่าเหมาไปยัง แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี
โทร. 0-3451-1200, 0-3451-2500 หรือจะใช้บริการนำเที่ยวของ บ้านป้าเกล็นก็ได้รายละเอียด www.parglen.com
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : http://www.paiduaykan.com/ , http://topicstock.pantip.com/