สักการะองค์ดำ บุกถ้ำกราบพระ กระโดดเล่นน้ำ…‘หนองบัวลำภู’

จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างหุบเขา โอบล้อมด้วยเทือกเขาภูพาน จากเหนือจดใต้ และภูเก้าในทางทิศใต้ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มากมายด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ หนองบัวลำภูมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมชาติอันสวยงาม โบราณสถาน หรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี และวัดวาอาราม บทความนี้จะพาไปพบกับแหล่งท่องเที่ยวที่ถือเป็นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหนองบัวลำภู

1.ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

จังหวัดหนองบัวลำภูแห่งนี้ยังเป็นดินแดนที่ได้มีส่วนหนึ่งในการจารึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติไทยมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาในการต่อสู้ข้าศึกเพื่อปกป้องแผ่นดินโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งที่พระองค์ได้ยกกองทัพและเสด็จมายังจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการจารึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เรื่องราวที่พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงกอบกู้เอกราชสยามประเทศ พระอนุสาวรีย์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จึงได้สร้างพระอนุสาวรีย์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จยกกองทัพมาที่ตำบลหนองบัวลำภูเมื่อ พ.ศ. 2117 เพื่อไปช่วยพระเจ้ากรุงหง-สาวดี ที่กรุงศรีสัตตนาคนหุต เนื่องจากขณะนั้นไทยเป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวร พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะริมหนองบัว

ที่ตั้ง : ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

2.ถ้ำเอราวัณ

ถ้ำเอราวัณเป็นถ้ำขนาดใหญ่มีบันไดเรียงคดโค้งไปมา จากเชิงเขาเบื้องล่างขึ้นสู่ปากถ้ำกว่า 600 ขั้น มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อยู่บริเวณปากถ้ำ มองเห็นได้เด่นชัดจากระยะไกล ภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ที่เป็นสถานที่แห่งตำนานนิยายพื้นบ้านเรื่อง “นางผมหอม” มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำเอราวัณแห่งนี้นั้นแต่เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำช้าง” ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามภูเขาถือผาถ้ำช้างซึ่งพระครูปลัดฝั้น ปาเรสโกได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้นเป็นวัดซึ่งต่อมาเรียกว่าวัดถ้ำช้างโดยได้สร้างไว้บริเวณบันไดทางขึ้นถ้ำอันเป็นที่มาของชื่อวัดถ้ำเอราวัณ ภายในบริเวณดังกล่างนั้นมีสิ่งที่สนใจที่มีความสวยงาม อันได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธชัยศรีมุนีศรีโลกนาถอันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกทั้งยังมีกองหินวงเป็นรูปร่างคล้ายเจดีย์โดยมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาเป็นความเชื่อว่าถ้าหากใช้หินมาก่อเป็นรูปเจดีย์ 9 ชั้นแล้วจะนำความโชคดีมาให้  เมื่อได้ขึ้นมาที่บริเวณบนหลังคาถ้ำก็จะได้พบกับปล่องดาว 3 ปล่องที่แสงสว่างสามารถส่องลอดเข้ามาถึงได้ เมื่อเดินต่อมาเรื่อยๆก็จะพบกับหินรูปหญาช้างนั่งคุกเข่าซึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อถึงที่มาว่าพญาช้างได้ตรอมใจตายและสาปตัวเองให้เป็นหิน

ที่อยู่ : บ้านพระอินทร์แปลง ตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู

3.ถ้ำสุวรรณคูหา

วัดสุวรรณคูหานี้ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า “วัดถ้ำ” เป็นวัดที่ น่าสนใจและมีความสำคัญ ที่สุดของจังหวัดหนองบัวลำภูเนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดีในบริเวณที่ตั้งวัดมีภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่น้อยหลายแห่ง ถ้ำที่สำคัญได้แก่ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้ง ถ้ำมือและถ้ำแก้ว ถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด เวลาเข้าถ้ำจะต้องผ่านถ้ำนี้ก่อนเสมอ มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำอื่น กว้างประมาณ 20 เมตรเศษ ยาวประมาณ 40 เมตรเศษ พื้นถ้ำเรียบ เพดานโค้งครึ่งวงกลมเหมือนประทุนเรือ ตลอดความยาวของถ้ำประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง ถ้วย จานเชิงลายครามและเบญจรงค์ ชนิดขนาดต่างๆ ถ้ำใหญ่ใช้เป็นวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นต่างๆ ประดิษฐานอยู่จำนวนหลายองค์ ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์องค์หนึ่งมีความสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หลายพระองค์

ที่ตั้ง : หมู่ 7 ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู

4.น้ำตกเฒ่าโต้


น้ำตกเฒ่าโต้แห่งนี้เป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายที่เหล่าบรรดาขานักเดินทางทั้งหลายต้องไม่พลาดสำหรับครั้งหนึ่งในชีวิตการเดินทาง ด้วยบรรยากาศที่ร่มรื่นไปด้วยหมู่แมกไม้นานาพันธุ์กอปรกับโขดหินที่มีรูปร่างลักษณะที่หลากหลายแปลกตาซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางสำหรับการวางแผนในช่วงวันหยุดยาวเพื่อพักผ่อนหรือทำกิจกรรมร่วมกันร่วมกันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนฝูง ด้วยบรรยากาศที่สบาย อากาศบริสุทธิ์สงบร่มรื่น เมื่อพูดถึงความงามของน้ำตกเฒ่าโต้แห่งนี้แล้วนับว่าสวยงามและแฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ในสายน้ำที่ไหลลงโดยเฉพาะในฤดูฝนที่จะมีปริมาณและความแรงของสายน้ำไหลเป็นพิเศษอันเป็นภาพแห่งความงามที่สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนทั้งหลายที่จะต้องบันทึกภาพแห่งความทรงจำของสถานที่แห่งนี้นั้นเก็บกลับไปเป็นที่ระลึกในการเดินทางในครั้งนี้ด้วย

ที่ตั้ง : ถนนหนองบัวลำภู-อุดรธานี ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ททท.

สนับสนุนเนื้อหา