วิธีการประหยัดน้ำมันในครัวเรือนนั้นอาจจะใช้วิธีการทอดซ้ำมากขึ้น แต่ในพ่อค้าแม่ขายบางคน อาจจะใช้วิธีการซื้อ “น้ำมันมือสอง” มาใช้แทน หลายคนอาจจะงงว่ามีน้ำมันมือสองด้วยเหรอ มันหน้าตาเป็นยังไง ขายกันยังไง ……”
มีแน่ ๆ เพราะเคยคุยกับเทศบาล เขาไปขอซื้อต่อที่ร้านไก่ทอด ปลาทอด ที่เก็บน้ำมันเหลือไว้เป็นปี๊บๆ เพื่อไปทำไบโอดีเซล เคยซื้อในราคากิโลกรัมละ12บาท แต่มีคนชิงซื้อไปในราคา 13-14 บาท พอเพิ่มราคาให้ ทางโน้นก็ให้ราคาสูงกว่าอีก” ภก.วรวิทย์สันนิษฐานว่า “ทางโน้น” คือผู้ซื้อไปผลิตน้ำมันมือสอง ซึ่งน้ำมันมือสอง … พูดง่าย ๆ ก็คือการเอาน้ำมันเก่าไปฟอกใหม่ โดยใช้สารเคมีในการฟอกสีน้ำมัน ให้ออกมาสวย ใส น่าใช้เหมือนเดิม หรือยิ่งกว่าเดิมอีก
“ยิ่งถ้าเจือน้ำมันใหม่ดีๆ ฟอกสีออกมาได้สวยใสเลยทีเดียว…แต่สารโพลาร์ยังอยู่ครบถ้วนครับ” เภสัชกรคนเดิมพูดยิ้มๆ พร้อมบอกต่ออีกว่า ในฐานะของนักวิชาการด้านอาหาร น้ำมันเสื่อมสภาพคือ ขยะดีๆ นี่เอง
น้ำมันมือสองของเขา แต่ใหม่ของเรา ไปโผล่อยู่ตามผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตาเปล่าแม้จะชัดเจน ไม่ฝ้าฟาง ไม่สั้น ไม่ยาว และไม่เอียง ก็แยกแยะไม่ออก
อันดับแรกคือ ทาเส้นก๋วยเตี๋ยวเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน แต่เดิมจะใช้น้ำมันพืชทา แต่พอน้ำมันแพงและขาดแคลน จึงลดค่าใช้จ่ายด้วยการเอาน้ำมันมือสองมาทา เพราะทั้งถูกกว่าและหนืดกว่า (ยิ่งถูกยิ่งหนืด) โดยเฉพาะเส้นใหญ่ ถ้าไม่ทาจะยิ่งติดกัน
“สองคือ ผสมอาหารสัตว์ ที่นิยมใส่ในอาหารสัตว์เพราะต้องการขุนสัตว์ให้อ้วน มีน้ำหนักจะได้ขายได้ราคาดี ไม่แน่ใจว่าสารโพลาร์ จะย้อนกลับมาสู่คนหรือไม่ เพราะสุดท้ายคนก็กินเนื้อสัตว์”
สุดท้ายคือ ฟอกให้ใส แล้วเอามาขายเป็นมือสอง มัดถุงขายตามตลาด ที่กำลังขายดีอยู่ในขณะนี้
ถึงที่สุดแล้ว คงไม่มีใครสรุปได้ว่า วิธีไหนดีที่สุดหรือเลวร้ายที่สุดในยุคน้ำมันฝืดเคืองอย่างนี้ แต่อะไรที่ไม่ดีหรือมีแนวโน้มว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อยู่ห่างๆ ไว้และไม่ตามใจปาก…ดีที่สุดเลยค่ะ
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : http://pim.in.th